ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในชุมชน ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน การประกอบอาชีพ และการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนในชุมชนมายาวนาน
ดังนั้น มูลนิธิโคเออร์ จึงสนับสนุนโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง ๆ มีความรู้ ได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ไม่ให้หายไป และเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลานให้คงอยู่สืบไป
โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุ ยกย่องและเชิดชูเกียรติปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น และส่งเสริมให้เยาวชนสามารถนำความรู้ ความนิยมไปต่อยอดประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ในอนาคต
ในวันที่ 9 มีนาคม 2565 จัดกิจกรรมถักเปลขึ้นที่บ้านแม่หละ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 33 คน เป็นหญิงจำนวน 28 คน และชายจำนวน 5 คน
กิจกรรมปักผ้าลายกระเหรี่ยงในวันที่ 14 มีนาคม 2565 ผู้มีเข้าร่วม จำนวน 32 คนเป็นหญิงล้วนจำนวน 32 คน
โครงการส่งเสริมการเพาะถั่วงอก ที่บ้านแม่หละ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 32 คน เป็นหญิงจำนวน 26 คน และชายจำนวน 6 คน
วันที่ 14และ15 มีนาคม 2565 จัดกิจกรรมภูมิปัญญาทำอาหารพื้นบ้าน “ทำข้าวงา” ให้แก่เยาวชน ที่บ้านอุ้มเปี้ยม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 75 คน เป็นหญิงจำนวน 38 คนชายจำนวน 37 คน
|